สวัสดีค่ะ

สวัสดีค่ะ

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood )
                
อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ

วันที่ 23 กันยายน 2557















การนำไปประยุกต์ใช้

นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จากในห้องเรียนนำไปใช้ในการเรียนการสอนเด็กในอนาคตได้ได้ความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากขึ้นรู้ถึงวิธีการเครื่องมือต่างรวมถึงการสอนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยการกระทำให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเด็กจะเกิดความเข้าในในเนื้อหามากขึ้น

การประเมินผล


ประเมินตนเอง = ตั้งใจเรียนดี อาจจะมีคุยกับเพื่อนบ้างแต่ไม่เป็นการรบกวนคนอื่นค่ะ

ประเมินเพื่อน = เพื่อนๆสนใจเรียนและตั้งใจดีแต่มีบางส่วนที่คุยกันเสียงดังจนถูกอาจารย์ตำหนิบ่อยครั้งแต่เพื่อนๆก็ตั้งใจเรียนและตอบคำถามกับอาจารย์ดี เพื่อนๆชอบกิจกรรมที่อาจารย์เอามาให้ทำมากค่ะ


ประเมินผู้สอน = อาจารย์สอนเนื้อหาเข้าใจดี มีการนำสิ่งประดิษฐ์ ของเล่นมาให้นักศึกษาลงมือปฎิบัติ



ขอบคุณค่ะ


วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
                
อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ

วันที่ 16 กันยายน 2557






การนำไปประยุกต์ใช้

นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จากในห้องเรียนนำไปใช้ในการเรียนการสอนเด็กในอนาคตได้ได้ความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากขึ้นรู้ถึงวิธีการเครื่องมือต่างรวมถึงการสอนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยการกระทำให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเด็กจะเกิดความเข้าในในเนื้อหามากขึ้น
การประเมินผล


ประเมินตนเอง =  ตั้งใจเรียนดี อาจจะมีคุยกับเพื่อนบ้างแต่ไม่เป็นการรบกวนคนอื่นค่ะ

ประเมินเพื่อน =  เพื่อนๆสนใจเรียนและตั้งใจดีแต่มีบางส่วนที่คุยกันเสียงดังจนถูกอาจารย์ตำหนิบ่อยครั้งแต่เพื่อนๆก็ตั้งใจเรียนและตอบคำถามกับอาจารย์ดี เพื่อนๆชอบกิจกรรมที่อาจารย์เอามาให้ทำมากค่ะ


ประเมินผู้สอน = อาจารย์สอนเนื้อหาเข้าใจดีแค่เพลง เพลงเดียวก็ามารถนำมาสอนให้เด็กเข้าใจอย่างลึกซึ้งได้ค่ะ


ขอบคุณค่ะ      


                       


สรุปความลับของแสง




ความรู้ที่ได้รับ

       แสงคือคลื่นชนิดหนึ่ง เหมือนกับคลื่นของน้ำทะเล มีความยาวของคลื่นสั้นมาก และในขนาดเดียวกันก็เคลื่อนที่เร็วมาก 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที เปรียบให้เห็นง่ายๆ ถ้าคนเราวิ่งเร็วเท่าแสง ก็เท่ากับวิ่งรอบโลก 7 รอบใน 1 วินาทีนั้นเอง ถ้าไม่มีแสง เราก็ไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวได้ แสงมีความสำคัญมากกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่นเราอยู่ในความมือแล้วจู่ๆก็สว่าง เราก็จะแสบตามองเห็นไม่ชัด เกิดจากตายังปรับตัวกับแสงสว่างไม่ทัน การเปลี่ยนแปลงของปริมาณแสงเร็วเกินไป เราก็หลับตาสักพักแล้วลืมตาใหม่ ก็จะเหมือนเดิมนั้นเอง
       สาเหตุที่เราสามารถมองเห็นวัตถุต่างๆได้นั้น ก็เพราะว่า แสงส่องมาโดนวัตถุ แล้วแสงก็จะสะท้อนจากวัตถุเข้ามาสู่ตาของเรา เราเลยมองเห็น เท่ากับว่าตาของเรานั้นคือจอสำหรับแสงที่สะท้อนเข้ามาจากวัตถุนั้นเอง ซึ่งการเดินทางของแสงจะพุ่งออกมาเป็นเส้นตรง ไม่เปลี่ยนทิศทางไปจนไปถึงวัตถุ
       วัตถุต่างๆบนโลกมีด้วยกันทั้งหมด3แบบ
1. วัตถุโปร่งแสง คือแสงทะลุผ่านไปได้บางส่วน มองเห็นไม่ชัดเจน เช่น กระจกฝ้า
2. วัตถุโปร่งใส คือแสงผ่านไปได้ทั้งหมด มองเห็นชัดเจน เช่น กระจกใส
3. วัตถุทึบแสง คือ ดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ แล้วสะท้อนส่วนที่เหลือเข้าตาเรา เช่น ตัวเราก็เป็นวัตถุทึบแสง และสิ่งของต่างๆอีกมากมาย
       ตาของคนเรานั้นมีรูเล็ก เรียกว่ารูรับแสง เมื่อภาพผ่านรูรับแสงก็จะกลับหัว แต่ที่เราเห็นภาพเป็นปกติไม่กลับหัว เพราะว่าสมองกลับภาพให้เป็นปกติโดยอัตโนมัติแล้ว
       ในหลักการสะท้อนของแสง เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุจะพุ่งไปทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของแสงที่ส่องลงมาตลอดเวลา เช่นเดียวกับการส่งกระจก จะกลับข้างกับตัวเราเสมอ เหมือนกับการที่เราใส่นาฬิกาที่ข้างขวา แต่เมื่อส่องกระจกก็กลายเป็นใส่นาฬิกาข้างซ้ายเป็นต้น
       การหักเหของแสง เกิดขึ้นเพราะแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนล่ะชนิดกัน เช่น เมื่อแสงเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำนั้นจะมีความหนาแน่นกว่าอากาศ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไปได้ช้ากว่าในอากาศ เส้นทางเดินของแสงจึงหักเหไปด้วย จากนั้นเมื่อแสงพุ่งจากน้ำเข้าสู่อากาศ แสงก็จะเคลื่อนที่ได้เร็ว เส้นทางการเคลื่อนที่ของแสงจึงกลับมาเป็นเหมือนเดิม
       เงาเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับแสง เกิดขึ้นได้เพราะแสง เป็นหลักธรรมชาติคือเงาของวัตถุจะเกิดขึ้นได้จากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆ เมื่อมีวัตถุเข้ามาขว้างทางเดินของแสงไว้ พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุก็จะดูดกลืน จะสะท้อนแสงบางส่วนออกมา แต่พื้นที่ด้านหลังของวัตถุ แสงส่องไปไม่ถึงเลยไม่มีการสะท้อนแสงเกิดขึ้น จึงเกิดเป็นพื้นที่สีดำๆ ก็คือเงานั้นเอง

ขอบคุณค่ะ

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา  การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
                
อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ

วันที่ 9 สิงหาคม 2557



หัวข้อที่เรียนในวันนี้  คือ รูปแบบการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย




สรุป
ครูต้องพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเอง
และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุล
ยึดเด็กเป็นสำคัญ และ ต้องประสานสัมพันธ์ กับครอบครัว และ ชุมชน

(การนำไปประยุกต์ใช้)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะการเป็นครูเราต้องมีความรู้รอบด้าน และหนึ่งในนั้นก็คือ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็ก เพราะวิทยาศาสตร์ก็คือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา และเราจะได้รู้ด้วยว่าเรื่องใดที่มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของเด็ก กับการนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัย

(การประเมินผล)
ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม

เพื่อนร่วมชั้นเรียน = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันเกือบทุกคน

อาจรย์ผู้สอน = อาจารย์มักสอนไปถามไปอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่ดีมาก เพราะคอยกระตุ้นให้นักศึกษานั้นได้ฝึกคิดตาม รวมถึงมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นในการตอบคำถาม และการเรียนการสอนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไปด้วย

ขอบคุณค่ะ




วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

           วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           ( Science Experiences Management for Early Childhood )                        
                                           อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ

                                            วันที่ 4 กันยายน 2557

                                  



              เนื่องจากวันนี้มีงานของคณะ อาจารย์จึงให้
นักศึกษาเข้าร่วมงาน ในหัวข้อตลาดนัดวิชาการศึกศาสตร์ค่ะและให้นักศึกษาทำกิจกรรมในงานตั้งแต่ร่วมพิธีเปิดจนถึงทำกิจกรรมของแต่ละเอกค่

                                   

นี่คือภาพบรรยากาศโดยรวมในการเข้าร่วมงานนะคะ ^^






นี่คือบัตรกิจกรรมสำหรับผู้ร่วมงานทุกท่านค่ะ
เมื่อทำกิจกรรมแต่ละเอกผ่านก็จะได่ตัวปั๊มค่ะ ^^



ขอบคุณค่ะ

                                                                   

                                                                   




บันทึกอนุทินครั้งที่ 2



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

( Science Experiences Management for Early Childhood )


อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ


วันที่ 28 สิงหาคม 2557




 
วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากป่วยค่ะ
แต่ดิฉันได้ทำการสอบถามเรื่องการบ้านจากเพื่อนๆจึงทราบว่า
อาจารย์ได้สั่งงาน ในหัวข้อ บทความทางวิทยาสาสตร์
ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย


สรุบบทความ

5 แนวทางสอนคิด เติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล
5 ways to fill the "Science" kindergarten.

       ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. 

กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของเด็ก ๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริง ๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"
      
       "สำหรับปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิด ๆ ได้"
      
       นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
      
       1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
  2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
     3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือในด้านของเหตุและผล
       4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน
       5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
      
       สำหรับข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ๆ แต่อย่างใด

         ไม่เพียงแต่คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดี ๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็ก ๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ


ขอบคุณค่ะ






บันทึกอนุทินครั้งที่ 1



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

( Science Experiences Management for Early Childhood )

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
                                     วันที่ 19 สิงหาคม 2557



                                         




(สัปดาห์นี้เป็นการเปิดภาคเรียนวันแรกของรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์แจกแนวการสอน (Coures Syllabus) และได้อธิบายเกี่ยวกับรายวิชา สิ่งที่จะสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และพูดเรื่องของการเก็บคะแนนของรายวิชานี้ พูดเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่ามีความสำคัญสำหรับเด้กปฐมวัยอย่างไร นั้นเอง


(สิ่งที่นำไปพัฒนา)


จะนำแนวทางที่อาจารย์ให้คำแนนนำในวันนี้นั้นไปปรับใช้ในเรื่องของการเรียนการสอนในอนาคต เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของรายวิชานั้นเอง


(การประเมินผล)


ตนเอง = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ตั้งใจเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย จดในเรื่องสำคัญลงสมุดบันทึกอยู่เสมอ



เพื่อนร่วมชั้น = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังอาจารย์ดี และเมื่ออาจารย์ถามอะไร ก็จะช่วยๆกันตอบ อาจมีบ้างบางกลุ่มที่คุยกันเสียงดัง


อาจารย์ผู้สอน = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอ


และคอยกระตุ้นให้นักศึกษาฝึกการคิด โดยการคอยถามเพื่อให้นักศึกษาได้คิดหาคำตอบนั้นเอง



ขอบคุณค่ะ