สวัสดีค่ะ

สวัสดีค่ะ

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปบทความ

สรุปยทความ

 เรื่อง 5 แนวทางสอนวิทย์ เติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล


 ดร. วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"
     
       ทั้งนี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
      
       ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็ก ๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริง ๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"
     
       "สำหรับปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิด ๆ ได้"
       
       นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
     
       1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
     
       2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
     
       3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือในด้านของเหตุและผล
     
       4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
     
       5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
       

       สำหรับข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ๆ แต่อย่างใด
     
       ไม่เพียงแต่คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่ง เสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดี ๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็ก ๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ






       

 ขอบคุณค่ะ
ภูริศา  เข้าเมือง
 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16


วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

( Science Experiences Management for Early Childhood )

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่  2  ธันวาคม 2557



 ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge that receive )
 ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่ยังไม่นำเสนอวิจัย และโทรทัศน์ครูออกมานำเสนอทุกคน

วิจัย(Research)

ผลการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่ได้รับการจัดประสบการรณืแบบโครงการและแบบสืบเสาะหาความรู้

การคิดพิจารณาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางธรมชาติเนื้อสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธรรมชาติที่มีการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

โทรทัศน์ครู(Teachers TV)

เรียนรู้วิทยาศาสตร์

เสียงในการได้ยิน


เรื่องราวของเสียง

จิตวิทยาศาตร์ การทำอย่างไรให้เด็กมีจิตวิทยาศาสตร์ การสร้างบรรยากาศการเรียน




ต่อมาอาจารย์นักศึกษานั่งตามกลุ่มที่เคยทำแผน 5 คน แล้วช่วยกันทำแผ่นพับเรื่องสายสัมพันธ์ผู้ปกครองและนักเรียน โดยแจกกระดาษให้นักศึกษาทุกคน แล้วเลือกอันที่ดีที่สุดส่งอาจารย์เพียง 1 แผ่นนั้นเอง












และสุดท้ายอาจารย์ได้บอกให้นักศึกษานำของ เล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เคยประดิษฐ์ เขียนชื่อแล้วนำไปส่งที่ห้องพักอาจารย์ตามกล่องแต่ล่ะกลุ่มเรียน


การนำไปประยุกต์ใช้ (Apply)
                          สามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟัง เพื่อนออกมานำเสนอและที่อาจารย์อธิบายให้ฟังสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการ สอนในอนาคตได้เพราะบางกิจกรรมบางวิจัยที่ศึกษาสามารถนำมาปรับใช้กับการเรียน การสอนเด็กในการจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้กับเด็กได้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์และการทำแผ่นพับก็เป็นประโยชน์มากๆในเรื่องของการระดมความคิด การทำงานเป็นระบบและสามารถนำไปใช้ได้จริงได้

ประเมินตนเอง (Assess oneself)
                        แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและอธิบายถึงวิธีการสอนเทคนิคการ สอนเด็กให้เด็กเข้าใจเป็นขั้นๆและสามารถที่จะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ ได้จริงและนำไปพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่ดีขึ้น
ประเมินเพื่อน (Assess a friend) 
                       เพื่อนในกลุ่มรวมถึงเพื่อนในห้องพูดคุยถึงข้อสงสัยในเรื่องที่เพื่อนออกมา นำเสนอว่ามีทักษะมีการจัดกิจกรรมอย่างไรวิธีการทำการดำเนินกิจกรรมต่างๆมี การช่วยกันตอบคำถามกับอาจารย์อย่างสนุนสนานมีการพูดคุยโต้แย้งถึงข้อสงสัย ที่เกิดขึ้น
ประเมินอาจารย์ (Assess a teacher) 
                       อาจารย์มีการถามถึงวิธีและกระบวนการทำของงานวิจัยและการจัดกิจกรรมของ โทรทัศน์ว่าเขาใช้วิธีอะไรมีการสอนอย่างไรมีการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้ เด็กเกิดข้อสงสัยและเกิดกระบวนการคิดการหาคำตอบมีการอธิบายและสรุปถึงเรื่อง ที่เพื่อนออกมานำเสนออย่างเข้าใจชัดเจน



                                                                                                                 ขอบคุณค่ะ
ภูริศา  เข้าเมือง




วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15



วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

( Science Experiences Management for Early Childhood )

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557





ความรู้ที่ได้รับ

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอวิจัย(Research)และโทรทัศน์ครู(Teachers TV)ของแต่ละคน

โทรทัศน์ครู(Teachers TV)

- การกำเนิดของเสียง (การใช้ช้อนซ้อม/โลหะที่มีคุณสมบัติต่างกันมาตีกัน)

- สารอาหารในชีวิตประจำวัน (นำแกงส้มมาแล้วนำกระดาษทดลองจุ่มลงไปสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น)

- ไฟฟ้าและพรรณพืช (สำรวจ/สังเกตการเจริญเติบโตของพรรณพืชการทดลองโดยใช้กระแสไฟฟ้าทำกับน้ำเกิดOxygen ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช)
วิจัย(Research) 

- ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (การลงมือปฏิบัติ/คั้นน้ำจากผัก/ผลไม้/ดอกไม้เพื่อเอาสีมาทำผสมอาหารหรือทำงานศิลปะ)

- ผลการจัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มัต่อทักษะการแสวงหาความรู้

- การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร (การจำแนก/สังเกต/สื่อความหมายของข้อมูล)




การทำ"Waffle"

ส่วนผสม(Compound)




1.แป้ง(Powder)
2.เนย(Better)
3.ไข่ไก่ (Egg)
4.น้ำเปล่า(Water)


ขั้นตอนการทำ(Step)


1.เทแป้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้




2.ยำไข่ไก่ใส่ลงพร้อมกับเนยจืดแล้วตีให้เข้ากัน





3.เติมน้ำเพื่อไม่ให้แป้งข้นจนเกินไป



4.คนจนแป้งเข้าที่เป็นเนื้อเดียวกัน





5.แบ่งแป้งใส่ถ้วยที่เตรียมไว้




6.ทาเนยที่เครื่องพิมวาฟเฟิล





7.นำแป้งที่แบ่งไว้ในถ้วยเทลงในเครื่องพิมให้พอเหมาะ




8.รอจนสุกพร้อมรับประทาน










การนำความรู้ไปใช้

นำขั้นตอนวิธีการทำ "Waffle" ในวันนี้ ไปใช้ใช้สอนเด็กปฐมวัยในการเรียนการสอน ประยุกต์ให้ง่ายไม่ยุ่งยากเด็กปฐมวัยก็จะสามารถทำได้โดยมีครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่กายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนๆที่ออกมานำเสนอวิจัย และ โทรทัศน์ครู มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่อาจารย์ถาม

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจนำวิจัย และ โทรทัศน์ครู ออกมานำเสนอดีค่ะอาจจะมีเพื่อนๆบางกลุ่มที่คุยกันแต่อาจารย์ก็สามารถดึงสมาธิของเพื่อนๆกลับมาได้ค่ะ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีการเตรียมการสอนมาทุกครั้งทำให้เกิดผลดีในการเรียนการสอน และอาจารย์ มีกิจกรรม Cookking มาให้นักศึกษาได้ทดลองปฏิบัติซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่สนุกสนานค่ะ



ขอบคุณค่ะ
ภูริศา. เข้าเมือง





วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุป บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

        
                              ผงวิเศษช่วยชีวิต




                  โรงเรียน บ้านเรียนแห่งรักและศานติ 

   ครูให้เด็กดูการ์ตูน (เรื่อง ผงวิเศษช่วยชีวิต) ตัวละคร แก่น กับแก้ว และเจ้ามังกร ได้นำผงอย่างหนึ่งสีขาวไปโรยลงบึงน้ำและก็สามารถข้ามบึงน้ำได้ แล้วครูก็ถามว่าเด็กๆสงสัยไหมว่าผงสีขาวคืออะไร เด็กๆตอบว่าอยากรู้ แล้วครูก็บอกว่าถ้าอยากรู้ ต้องลองทำดู!! 
จากนั้นครูมีของบางอย่างมาให้เด็กๆดู
ครูให้ดูทีละอย่าง คือมีสิ่งของอยู่ในถ้วย
แล้วครูถามว่า เด็กๆคิดว่ามันคืออะไร เด็กๆตอบว่า1 มันคล้ายๆน้ำตาล
2คอฟฟี่เมต 3เกลือ และครูก็นำอย่างที่สองมาให้เด็กๆดู แล้วเด็กๆก็ตอบว่า อย่างแรกมันเรียบๆ อันนี้มันหยักๆเหมือนภูเขาไฟ จากนั้นครูบอกเด็กว่าเดี๋ยวเราจะนำของทั่งสองอย่างมาเปรียบเทียบกันว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ชนิดที่1 เด็กๆบอกว่า เรียบ มีสีขาว ส่วนชนิดที่2 เป็นเกล็ด มีสีเหลือง เมื่อเด็กบอกลักษณะเสร็จ ครูก็บอกว่าดูแต่ตาเราไม่รู้งั้นเรามาลองสัมผัสกัน หลังจากสัมผัส เด็กก็บอกได้ว่า ชนิดที่1นุ่ม เบา ส่วนชนิดที่2 มีกลิ่นเหมือนดินน้ำมัน และติดมือ จากนั้นครูถามเด็กๆว่าถ้าครูนำน้ำมาใส่ในถ้วยทั้ง2จะเกิดอะไรขึ้น เด็กๆตอบว่ามันจะแข็ง และเมื่อครูให้เด็กนำน้ำเทลงไป ครูถามเด็ว่าลองสังเกตดูสิครับว่ามันเป็นยังไง เมื่อเด็กเทลงไปในถ้วยที่1ครูถามว่าลองดูสิครับรู้สึกยังไงครับ เด็กๆตอบว่า แข็ง
เทลงในถ้วยที่2เด็กตอบว่า นิ่ม จากนั้นครูมีผงสีขาวมาให้เด็กๆอีกแล้วพูดกับเด็กๆว่าถ้าเราเทผงลงไปอีกเยอะๆดูสิจะเป็นยังไง และเมื่อเด็กๆเติมผงลงไป มีเด็กคนบอกว่ามันเหนียว แล้วครูก็ถามต่อว่าแล้วถ้าครูลองทุบๆๆดูจะรู้หรือเปล่าว่ามันแข็ง เด็กๆตอบว่ารู้ ครูจึงให้เด็กๆลองเอามือทุบดู สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กๆลองทุบคือมันแข็ง แล้วแล้วครูก็ถามต่อว่า เด็กๆอยากรู้ไหมเจ้าผงสีขาวนี้ ที่ทำให้ แก่น แก้ว เจ้ามังกร ข้ามแม่น้ำไปได้ยังไง อยากรู้ไหมครับ? เด็กๆตอบว่าอยากรู้ ครูก็บอกว่า ถ้าอยากรู้ต้องลองทำดู จากนั้น ครูได้จำลองบึงน้ำมาให้เด็กๆไดทำการทดลองโดยบึงน้ำนี้ไดผสมผงสีขาวไว้แล้วโดยให้เด็กวิ่งผ่านด้วยความเร็วห้ามหยุด เด็กๆวิ่งผ่านมาได้ ครูจึงถามว่ารู้สึกสึกยังไงครับ เด็กตอบว่าเหมือนวิ่งบนพื้นเลย และหลังจากวิ่งเสร็จ ครูถามเด็กต่ออีกว่าแล้วถ้าเราเดินแล้วหยุดจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเด็กๆลองเดินแล้วหยุดผลปรากฏว่าจม จากนั้นครูมาสรุปโดยถามเด็กว่า รู้ไหมว่าทำไมเราวิ่งแล้วไม่จม แต่ทำไมเราหยุดแล้วถึงจม เด็กๆตอบว่าถ้าเราวิ่งมันจะรองรับน้ำหนักเราได้ แต่ถ้าเราหยุดมันจะรองรับน้ำหนักเราไม่ได้
ครูจึงบอกว่า คุณสมบัติของผงสีขาวนี้ สามารถเป็นของเหลวก็ได้ ของแข็งก็ได้ ถ้าเราวิ่งเร็วๆก็จะไม่จม แต่ถ้าเราเดินแล้วหยุดก็จะจม คุณสมบัติพิเศษนี้ก็คือ คุณสมบัติของแป้งข้าวโพด ครูยังถามต่อว่าเด็กๆยังสงสัยอยู่หรือเปล่าว่าคุณสมบัติของแป้งชนิดอื่นๆจะเหมือนกับแป้งข้าวโพดหรือเปล่า เด็กบอกว่าสงสัย ครูก็เลยบอกเด็กๆว่าให้ลองกลับไปทำที่บ้านกับคุณพ่อคุณแม่ที่บ้านแล้วได้ผลยังไงกลับมาเล่าให้ครูฟังด้วยนะครับ 


ครูได้ทิ้งท้ายไว้ว่าคุณสมบัติของแป้งข้าวโพดที่ผสมน้ำ มีคุณสมบัติพิเศษคือ ถ้ามีแรงกระแทก เช่น เราวิ่ง หรือเดินเร็วๆ เหยียบไปบนน้ำเแป้ง มันจะเหมือนของแข็ง คือไม่ยุบตัวลงไป แต่หากเป็นแรงกดแบบค่อยๆกดมันจะเหมือนเป็นของเหลว เช่น เมื่อเราไปยืนอยู่บนน้ำแป้งเราก็จะจมลงไป ลักษณะที่ว่ามานี้ก็จะเหมือนกับทรายที่ชุ่มน้ำตามชายหาดหรือพวกทรายดูดนั่นเอง เด็กๆสามาทดลองเองได้แต่ห้ามนำแป้งไปโรนในแม่น้ำแล้วเดินข้ามเหมือนในการ์ตูนเด็ดขาดเพราะจะทำให้จมน้ำ และเป็นอันตรายได้และการโรยแป้งลงไปในแม่น้ำจะทำให้น้ำเน่าเสียและสกปรก



อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง

1) แป้งข้าวโพด

2) เกลือ

3) น้ำ

4) บึงน้ำจำลอง
 
 
 
 

ขอบคุณค่ะ
ภูริศา เข้าเมือง

สรุปงานวิจัย



                  เรื่อง การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

            (Provision of Activitirs to Enhance Science Process Skills for Young Childrean)
                         
                                  ผู้ทำการศึกษา        นางสาวอภิญญา มนูศิลป์

                                                     สิงหาคม  พ.ศ. 2542


                               ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต  สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

                               มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สิงหาคม. 2542





ความสำคัญ 

ปัจจุบัญโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตมนุษย์. การพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ในระดับปฐมวัยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเด็กปฐมวัยทร่มีความสำคัญในการพัฒนาในการเรียนรู้และพัฒนาการทุกด้านมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาการทางด้านสติปัญญาเป็นช่วงที่เด็กจะเกิดการเรียนรู้มากที่สุด ฉะนั้นการจัดการศึกษา ควรคำนึงถึงความพร้อมและจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
 กิจกรรมเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมกลางแจ้งสำหรับเด็กวัย 3-6 ปีที่ช่วยส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทางด้านทักษะการสังเกต และทักษะการจำแนกประเภทของเด็กปฐมวัย ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าต่อการพัฒทางด้านสติปัญญาอีกทางหนึ่ง



วัตถุประสงค์

เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภท ระหว่างเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง แบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ 


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

เด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนสาธิต สถาบัญราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มทดลอง 15คน กลุ่มควบคุม15คน  

วิธีการทดลอง

สุ่มจับฉลากมา1ห้องเรียน แบ่งออกเป็น2กลุ่ม กลุ่มละ15คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มควบคุมไม่ได้ปฏิบัติกิจกรรมเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกต ด้านการจำแนกประเภท
ใช้เวลาในการทดลอง 4สัปดาห์ครึ่ง สัปดาห์ละ4วัน วันละ50นาที รวมจำนวน18ครั้ง เมื่อสิ่นสุดการทดลองผูวิจัยทดสอบเด็กกลุ่มตัวอย่างทั้ง2กลุ่ม เป็นรายบุคคลอีกครั้งโดยใช้เครื่องมือในการวิจัยชุดเดิม จากนั้นนำคะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย และค่าความแปรปรวน


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1) แผนการจัดกิจกรรมการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้
2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการสังเกต และ ทักษะการจำแนกประเภท 


ตัวแปรในการวิจัย

1) ตัวแปลอิสระ คือ 

1.1 กิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย และมุมช่างไม้

1.2 กิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย และมุมช่างไม้

2) ตัวแปลตาม คือ ทีกษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสังเกต และทักษะการจำแนกประเภท



นิยามศัพท์เฉพาะ

เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กชาย และ เด็กหญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถที่เกิดจากการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการทางความคิด ได้แก่ การสังเกต และ การจำแนกประเภท

ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และ ผิวกาย ไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ โดยมีจุดประสงค์ ซึ่งเป็นลายละเอียดของสิ่งนั้น

ทักษะการจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายในการจัดแบ่ง หรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่ง

กิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมัมช่างไม้ หมายถึง สิ่งที่ครูจัดขึ้นเพื่อให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นในมุมช่างไม้ นอกห้องเรียนตามความสนใจอย่างอิสระ



สรุปผลการวิจัย

1) เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตินะดับที่ .01

2) เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ มีทักษะการสังเกตสูงกว่าเด็กที่ไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับที่ .01

3) เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ มีทักษะการจำแนกประเภทสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01




ขอบคุณค่ะ
ภูริศา  เข้าเมือง


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

                               วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



                      Science Experiences Management for Early Childhood )

                                              อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ
                                      วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557


ความรู้ที่ได้รับ
                  
ในสัปดาห์เพื่อนกลุ่มที่เหลือที่ยังไม่ได้รายงานแผนการสอนออกมานำเสนองานต่อ จากสัปดาห์ที่แล้วมีกลุ่ม นกหงษ์หยกสอนแผนวันอังคาร  กลุ่มสับปะรดสอนแผนวันพุธ และกลุ่มส้มใช้แผนวันพฤหัสบดี ซึ่งรายงานแผนการสอนเสร็จก็ต่อด้วยการอ่านวิจัย(Research)และโทรทัศน์ครู(Teachers TV) ต่อด้วยการสาธิตทำไข่เทอริยากิด้วยวิธีการทำที่แสนง่ายขั้นตอนไม่ยุ่งยากและยังอร่อยแถมมีประโยชน์อีกด้วย


กลุ่ม นกหงษ์หยก








คำนี้แนะของอาจารย์

- ควรเลือกเพลงที่บ่งบอกถึงลักษณะของนกหงษ์หยก และตารางควรเขียนให้ถูกต้องแบกลักษณะให้ชัดเจน เช่น สี ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบ และแบ่งชนิดสายพันธ์ของนก ที่จะสอนให้ชัดเจนเพื่อให้เด็กเข้าใจง่าย อันไหนวาดรูปได้ก็ควรวาดรูปเพราะเด็กจะเข้าใจได้ดีกว่า



กลุ่ม สับปะรด (pine apple)





คำชี้แนะของอาจารย์

กลุ่มนี้จะสอนในเรื่องของ ประโยชน์และข้อควรระวัง เริ่มด้วยการเล่านิทาน สิ่งที่ต่องแก้ไข. คือ ควรถามประโยชน์และข้อควรระวังนอกเหนือจากในนิทาน เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ประสบการณ์เดิมของตัวเอง และเมื่อเด็กตอบคำถามแล้วครูควรจดบันทึกเพื่อเป็นการแสดงหลักฐานความรู้ที่เด็กตอบ



กลุ่ม ส้ม (orange)





คำชี้แนะของอาจารย์

กลุ่มนี้จะสอนในเรื่องของ ประโยชน์ขากการแปรรูป เริ่มด้วยการท่องคำคล้องของส้ม ในเวลาที่จะให้เด็กดูสิ่งของที่เป็นจำพวกสเปรย์ไม่ควรให้เด็กส่งต่อๆกันเพราะเด็กอาจจะ)ีดใส่ตาเพื่อนอาจเป็นอันตรายได้





การนำเสนอวิจัย(Research) 

เรื่องผลการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

โทรทัศน์ครู (Teachers TV)

เรื่อง รวมสีน้ำยาล้างจาน
เรื่อง สร้างพื้นฐานกิจกรรมการเรียนรู้กับประสาทสัมผัสทั้ง 5
เรื่อง กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เรื่อง ดินน้ำมันลอยได้อย่างไร




                                         กิจกรรมในห้องเรียน  "ไข่โดรายากิ"








ส่วนผสม

1) ไข่ไก่ (Egg)
2) ข้าวสวย (Rice)
3) ผักต่างๆ (แครอท carrot) / ต้นหอม(leek)
4) ปูอัด (a crab compresses)
5) ซอสปรุงรส
6) เนย (better)

วิธีการทำ

1) ตีไข่ใส่ถ้วย
2) นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี
3) ทาเนยลงในหลุมกระทะ
4) ตีส่วนผสมให้เข้ากันจากนั้นเทลงไปในหลุมกระทะ






การนำไปประยุกต์ใช้
                           
                         
สามารถนำความรู้ที่ิได้จากการเขียนแผนการสอน การทำกิจกรรมต่างๆรวมถึงวิธีการสอนเทคนิคต่างๆสามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กใน อนาคตได้จริงเพราะการเขียนแผนรวมถึงวิธีการสอนเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องใช้ สอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่จะเป็นครูต้องสามารถเขียนแผนการสอนและสามารถนำ แผนที่เขียนนั้นไปสสัปอนเด็กให้ตรงกับวัตุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างถูกต้อง และเป็นขั้นตอน

ประเมินตนเอง
                        
แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและอธิบายถึงวิธีการสอนเทคนิคการ สอนเด็กให้เด็กเข้าใจเป็นขั้นๆและสามารถที่จะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ ได้จริงและนำไปพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่ดีขึ้น
ประเมินเพื่อน  
                       
เพื่อนในกลุ่มรวมถึงเพื่อนในห้องพูดคุยถึงข้อสงสัยในเรื่องที่เพื่อนออกมา นำเสนอว่ามีข้อบกพร่องตรงไหนที่เพื่อนควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นเพื่อนๆร่วม ทำกิจกรรมและสนใจฟังเพื่อนออกมานำเสนอได้ดี
ประเมินอาจารย์  
                       
อาจารย์มีการถามถึงวิธีและกระบวนการสอนว่ามีตรงไหนที่เราคิดว่าไม่ถูกต้อง ควรปรับปรุงควรสอนแบบไหนก่อนก่อนที่จะไปสอนอีกแบบหนึ่งมีการถามให้เราเกิด ความคิดและความเข้าใจในวิธีการสอนนั้นจริงๆและสามารถนำเทคนิคและวิธีการ ต่างๆไปสามารถใช้กับเด็กได้จริงในอนาคต มีการนำอุปกรณ์การประกอบอาหารมาให้นักศึกษาทำเพื่อที่สามารถนำไปใช้สอนกับ เด็กในเรื่องของการประกอบอาหารได้เป็นอย่างดี




ขอบคุณค่ะ
ภูริศา  เข้าเมือง












วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

                                วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                      Science Experiences Management for Early Childhood )

                                       อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ

                                    วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557


ความรู้ที่ได้รับ

  ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำเสนองานหน้าชั้นเรียน โดยการสอบสอนตามแผนการเรียนที่เขียนส่งอาจารย์ ซึ่งมีหน่วยต่างๆ ดังนี้

กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ (ใช้แผนวันจันทร์)

กลุ่มที่2 หน่วยนกหงส์หยกใ (ช้แผนวันอังคาร)

กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพด (ใช้แผนวันพุธ)

กลุ่มที่4 หน่วยแตงโมงใ (ช้แผนวันพฤหัสบดี)

กลุ่มที่5 หน่วยกล้วย (ใช้แผนวันศุกร์)

กลุ่มที่6 หน่วยช้าง (ใช้แผนวันจันทร์)

กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อ (ใช้แผนวันอังคาร)

กลุ่มที่8 หน่วยสัปปะรด(ใช้แผนวันพุธ)

กลุ่มที่9 หน่วยส้ม(ใช้แผนวันพฤหัสบดี)

วันนี้มีการนำเสนองานทั้งหมด 6กลุ่ม อีก3กลุ่มยังไม่ได้ออกมานำเสนอ
คือ กลุ่มนกหงษ์หยก/กลุ่มสัปปะรด/และกลุ่มส้ม




กลุ่มที่1




เป็นกลุ่มแรกที่นำเสนอดังนั้นข้อผิดพลาดในการสอนจึงมีเยอะเพราะอาจารย์คอยชี้แนะวิธีการสอนการพูดที่ถูกต้องเป็นขั้นๆ วิธีการสอนกลุ่ม นี้คือ สอนเรื่องชนิดของผลไม้ โดยการหยิบผลไม้ที่เหมือนกันโดยใช้เกณฑ์ในการหยิบแล้วนับจำนวนผลไม้หมดก่อน คือน้อยกว่าหมดหลังคือมากกว่า สามารถบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของการนับจำนวน


กลุ่มที่2



วิธีการสอน สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังโดยการเล่านิทานเรื่องเจ้าหมูจอมตะกละซึ่ง สอดแทรกประโยชน์และข้อควรระวังลงไปด้วย/ถามประสบการณ์เดิมของเด็ก/ครูชูภาพ แล้วให้เด็กบอกภาพไหนเป็นประโยชน์ภาพไหนเป็นข้อควรระวัง


กลุ่มที่3



วิธีการสอน การประกอบอาหารการทำน้ำแตงโมปั่นโดยการอธิบายส่วนประกอบต่างๆพร้อมสาธิตวิธี การทำให้เด็กดูแล้วให้เด็กออกมาทำให้ครบทุกคนแล้วให้เด็กชิมรสชาติของน้ำแตงโม







วิธีการสอน เรื่องประโยชน์และข้อควรระวังคล้ายกับกลุ่มข้าวโพดเนื่องจากทำหัวข้อเรื่อง เดียวกันจึงมีวิธีการสอนที่คล้ายกันต่างกันตรงที่กลุ่มข้าวโพดครูจะชูภาพและ ให้เด็กบอกว่าภาพไหนเป็นประโยชน์หรือโทษแต่กลุ่มให้เด็กออกมานำภาพไปติดตาม ที่เด็กเข้าใจว่าอันไหนเป็นประโยน์และโทษ







วิธีการสอน เรื่องชนิดของช้างกลุ่มนี้วิธีการสอนก็จะคล้ายกับกลุ่มผลไม้เพราะได้สอนวัน เดียวกันแต่เนื่องจากกลุ่มนี้มีตัวอย่างให้ดูแล้วเวลาออกมานำเสนอก็ยังมีข้อ ผิดพลาดอยู่ คือ ภาพช้างเล็กเกินไปไม่มีตัวเลขกำกับให้เด็กเห็นควรวางเรียงให้เป็นฐาน 10 หรือ 5 เด็กจะได้เข้าใจในการนับจำนวน กลุ่มนี้ใช้เกณฑ์แบ่งช้างเอเชียกับช้างแอฟริกา







วิธีการสอน ลักษณะ/สี/ขนาด/รูปทรง ให้เด็กสังเกตลักษณะต่างๆของผีเสื้อ 2 ชนิดแล้วมาหาความสัมพันธ์เหมือนต่าง ข้อปรับปรุงคืออันไหนที่ใช้สีระบายได้ให้ใช้สีวาดรูปได้ให้วาดเพราะเด็กยัง อ่านหนังสือไม่ออกไม่รู้หรอกว่าเราเขียนอะไรใช้สี/วาดภาพเด็กจะเข้าใจกว่า และการหาความสัมพันธ์อันไหนที่หาไปแล้วให้วงไว้เพื่อให้เด็กเห็นว่าอันไหน เอาไปแล้ว




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

นำข้อคิดเห็นที่อาจารย์บอกแต่ละกลุ่มไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นให้การนำเสนอกิจกรรมในครั้งต่อไปสิ่งไหนที่ดีแล้วก็พัฒนายิ่งๆขึ้น สิ่งไหนที่ขาดก็ไปปรับปรุงแก้ไข

ประเมินตนเอง
มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์เวลาที่อาจารย์ถามก็จะตอบ ตั้งใจฟังที่เพื่อนออกมานำเสนอดีค่ะ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆออกมานำเสองานได้ดีพอสมควรทุกๆกลุ่มตั้งใจออกมานำเสนอ ตั้งใจผลิตสื่อกันดีค่ะ

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้คำแนะนำเสมอๆเมื่อทุกกลุ่มนำเสนอจบ มีการบอกจุดที่บกพร่องไป จุดที่ดีอาจารย์ก็ชมเชย



ขอบคุณค่ะ
นางสาวภูริศา. เข้าเมือง