เรื่อง การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Provision of Activitirs to Enhance Science Process Skills for Young Childrean)
ผู้ทำการศึกษา นางสาวอภิญญา มนูศิลป์
สิงหาคม พ.ศ. 2542
ความสำคัญ
ปัจจุบัญโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตมนุษย์. การพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ในระดับปฐมวัยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเด็กปฐมวัยทร่มีความสำคัญในการพัฒนาในการเรียนรู้และพัฒนาการทุกด้านมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาการทางด้านสติปัญญาเป็นช่วงที่เด็กจะเกิดการเรียนรู้มากที่สุด ฉะนั้นการจัดการศึกษา ควรคำนึงถึงความพร้อมและจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
กิจกรรมเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมกลางแจ้งสำหรับเด็กวัย 3-6 ปีที่ช่วยส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทางด้านทักษะการสังเกต และทักษะการจำแนกประเภทของเด็กปฐมวัย ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าต่อการพัฒทางด้านสติปัญญาอีกทางหนึ่ง
วัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภท ระหว่างเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง แบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
เด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนสาธิต สถาบัญราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มทดลอง 15คน กลุ่มควบคุม15คน
วิธีการทดลอง
สุ่มจับฉลากมา1ห้องเรียน แบ่งออกเป็น2กลุ่ม กลุ่มละ15คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มควบคุมไม่ได้ปฏิบัติกิจกรรมเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกต ด้านการจำแนกประเภท
ใช้เวลาในการทดลอง 4สัปดาห์ครึ่ง สัปดาห์ละ4วัน วันละ50นาที รวมจำนวน18ครั้ง เมื่อสิ่นสุดการทดลองผูวิจัยทดสอบเด็กกลุ่มตัวอย่างทั้ง2กลุ่ม เป็นรายบุคคลอีกครั้งโดยใช้เครื่องมือในการวิจัยชุดเดิม จากนั้นนำคะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย และค่าความแปรปรวน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1) แผนการจัดกิจกรรมการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้
2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการสังเกต และ ทักษะการจำแนกประเภท
ตัวแปรในการวิจัย
1) ตัวแปลอิสระ คือ
1.1 กิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย และมุมช่างไม้
1.2 กิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย และมุมช่างไม้
2) ตัวแปลตาม คือ ทีกษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสังเกต และทักษะการจำแนกประเภท
นิยามศัพท์เฉพาะ
เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กชาย และ เด็กหญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถที่เกิดจากการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการทางความคิด ได้แก่ การสังเกต และ การจำแนกประเภท
ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และ ผิวกาย ไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุ โดยมีจุดประสงค์ ซึ่งเป็นลายละเอียดของสิ่งนั้น
ทักษะการจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายในการจัดแบ่ง หรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ในการจัดแบ่ง
กิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมัมช่างไม้ หมายถึง สิ่งที่ครูจัดขึ้นเพื่อให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นในมุมช่างไม้ นอกห้องเรียนตามความสนใจอย่างอิสระ
สรุปผลการวิจัย
1) เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตินะดับที่ .01
2) เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ มีทักษะการสังเกตสูงกว่าเด็กที่ไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับที่ .01
3) เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ มีทักษะการจำแนกประเภทสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ มีทักษะการสังเกตสูงกว่าเด็กที่ไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับที่ .01
3) เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ มีทักษะการจำแนกประเภทสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ขอบคุณค่ะ
ภูริศา เข้าเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น